หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
Upper
Assessment
 

กรุณาระบุอีเมล์ของท่าน
เพื่อรับข่าวสารจากเรา
 






search

Training and Seminar

Articles
ตอนที่ 1 "จะสุขได้อย่างไร ถ้าไม่รวย" จากบทความชุด“ชีวิตที่ดี กับ งานที่สำเร็จ” Share
By คม สุวรรณพิมล Master Trainer of Coach for Goal
Published Date 21 กันยายน 2551

ตอนที่ 1 "จะสุขได้อย่างไร ถ้าไม่รวย"
จากบทความชุด “ชีวิตที่ดี กับ งานที่สำเร็จ”

โดย คม สุวรรณพิมล
- Upper Knowledge Executive Coach
- ที่ปรึกษาด้านการบริหารและผู้ฝึกอบรมด้านการพัฒนาตนเองให้แก่องค์กรต่างๆเป็นจำนวนมาก
- เป็นผู้ริเริ่มและร่วมพัฒนาหลักสูตร Coach! For Goal ซึ่งเป็นหลักสูตรในด้านการพัฒนาตนเองที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง และในปัจจุบันคุณคมยังเป็น Master Trainer of Coach for Goal

“ความสุขอยู่ที่ใจ” 
      วลีอมตะที่ทุกคน คงเคยได้ยิน และ เข้าใจ และซาบซึ้งกับคำคำนี้ เป็นอย่างดี แต่ทั้งๆที่รู้ หลายคนโดยเฉพาะคนส่วนใหญ่กลับ “ไม่เคยปฏิบัติตามเลย”  และทำเหมือนกับว่ามันเป็นคำในอุคมคติเท่านั้น และไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นในชีวิตจริงได้  แต่กลับให้ความสำคัญกับอีกวลีหนึ่งซึ่ง ยึดถือกันทั่วโลก 
      
“เงิน คือ พระเจ้า ที่สามารถบันดาลทุกสิ่งที่ต้องการได้” 
      หลายคนยังวนเวียน อยู่กับการให้ความสำคัญของเงิน มากกว่าสิ่งอื่นใด บางคนยอมที่จะทิ้งศักดิ์ศรีของตนเอง เพื่อให้ได้มันมา บางคนยอมที่จะกระทำการผิดๆ เพื่อที่จะครอบครองมัน ไม่ว่าโดยทางใดก็ตาม ซึ่งกรณีเหล่านี้ อาจจะเป็นสิ่ง “สุดขั้ว” ที่บางคนบอกกับตัวเองว่า ฉันคงจะไม่ทำไม่แน่นอน   แต่คุณลองสำรวจตัวเองหรือยังว่า   “ชีวิตคุณอยู่ไป หรือ กระทำการใดๆ เพื่อเงินหรือเพื่อความสุข”  

      ยอมตรากตร่ำทำงานหนักเพื่อลูก เพื่อให้ลูกสุขสบายในอนาคต โดยทิ้งลูกๆของคุณไว้ข้างหลัง คุณคิดว่าลูกคุณมีความสุขดีอยู่หรือไม่ และ เขาอยากได้อย่างนั้นหรือไม่ เคยถามใจของลูกๆ ดูไหม 

      ยอมที่จะแอบหักหลังใครบางคน ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนของคุณเองเพื่อให้ได้ครอบครองทรัพย์สิน เล็กๆน้อยๆ ซึ่งไม่ใช่ประเด็นใหญ่โตใดๆเลย  แม้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่คุณยังคงมีความสุขอยู่ในใจได้จริงหรือ? 

      ความคิดพื้นๆ ที่ทุกคนก็รู้ว่าความสุขไม่ได้มาจากเงิน แต่เราก็มิอาจปฎิบัติตามได้เลย เนื่องจากทุกสิ่งที่เรากระทำล้วนเกี่ยวข้องกับการ ได้มาและใช้ไปของเงินทั้งนั้น หลายคนจึงตีความว่าการหาความสุข ก็คือการ
“หลีกหนี ออกไปจากสังคม” เพื่อที่จะใช้ชีวิตที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับเงิน 

      มันเป็นเพียงวิธีเดียวจริงๆหรือ?  มันมีการหาความสุขที่เรายังอยู่ในโลกและสังคมปัจุจบันของเราได้หรือไม่?
เราสามารถทำงานไปด้วย หาเงินไปด้วย ดูแลครอบครัวได้อย่างดี โดยที่เรายังคงมีความสุข ได้หรือไม่? ถ้ามี แล้วเราต้องทำอย่างไร เพื่อจะได้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ?

      ก่อนอื่นเราต้องมาแยกประเภทความรวยโดยจัดลำดับตามทรัพย์สินก่อน เราอาจแบ่งได้เป็นประเภท ต่างๆ ดังนี้

      ประเภทแรก รวยล้นฟ้า ประเภทนี้ไม่ว่าด้วยความสามารถหรือทรัพย์สมบัติเก่า เขาก็มีเงินเหลือเก็บ เกินความต้องการใช้ในชาตินี้และอีกหลายๆชาติ

      ประเภทต่อมาก็เข้าข่ายรวยเช่นกัน คือ รวยพอประมาณ คือ มีเงิน เหลือเก็บมากพอที่เขาจะทำอะไรก็ได้ ตามสบาย แต่ก็ยังไม่ได้มีเงินมากมายขนาด ไปซื้อทีมฟุตบอลมาดูเล่นได้ 

      อีกประเภทก็เป็น รวยมากกว่าใช้ ก็คือ มีเงินมากกว่าที่ใช้จ่ายสักเล็กน้อย มีเก็บไว้ใช้ได้บ้างยามจำเป็น เช่น เจ็บป่วย สังสรรค์ สันทนาการ  

      ประเภทต่อมา คือ รวยพอดีใช้ คือหามาได้เท่าไร ก็พอดีใช้จ่าย ไม่มีเหลือเก็บและก็ไม่มีใช้ยามจำเป็น พวกนี้ถ้าฟุ่มเฟื้อยเมื่อไร ชีวิตก็จะพลิกผันทันที ส่วนประเภทสุดท้าย รวยไม่พอใช้ พวกนี้จะมีรายได้ไม่พอค่าใช้จ่ายพื้นฐานในชีวิตประจำวัน 

      เอาล่ะพอแบ่งแยกประเภทความรวยแล้ว เราลองมาดูกันว่าเราอยากรวยแบบไหน?

      แน่นอนทุกคนอยากรวยแบบที่หนึ่งแน่ๆ แต่ว่าในโลกของความเป็นจริง รวยแบบนี้มีแค่ไม่ถึง 1 % ของคนทั้งโลกแน่ๆ ซึ่งมีไม่กี่คนในโลกเท่านั้นที่ทำได้ ส่วนแบบที่สอง เยอะหน่อยประมาณ 5% ซึ่งแบบนี้ คนทั่วไปพอเอื้อมถึง ส่วนประเภทที่สาม เยอะสุดในแง่ของความรวย ส่วนประเภทถัดมาก็ไม่น่าจัดอยู่กลุ่มรวยแล้ว

      ใครอยากเป็นแบบไหนก็แล้วตัวคุณเอง แต่ว่าคุณอยู่ในตำแหน่งไหน ถ้าตำแหน่ง “รวยพอประมาณ”  ก็อยากเป็น “รวยล้นฟ้า” หรือ “รวยมากกว่าใช้” ก็อยากเป็น “รวยพอประมาณ”   หรือ “รวยพอดีใช้” ก็อยากเป็น “รวยมากกว่าใช้” และสุดท้าย “รวยไม่พอใช้”  ก็อยากเป็น “รวยพอดีใช้” 

      พอมองแค่นี้ ก็จะเห็นว่า ชีวิตมันพอเริ่มมี “ความสุข” มาบ้าง เพราะรู้ตำแหน่งที่ตนเองจะไป เชื่อหรือไม่ บางคนไม่รู้ตำแหน่งตัวเอง อยู่ “รวยพอดีใช้” กลับอยากเป็น “รวยพอประมาณ” ซึ่งข้ามไปหลายขั้น พอแค่คิดก็กลุ้มแล้ว ที่นี้พอรู้ตำแหน่งแล้ว ก็มาดูก่อนว่า ความรวยมาจากไหน  ซึ่งไม่ยากเลย เด็กๆ ทุกคนก็ตอบได้ คือ
“หาเงินให้ มากกว่าที่ใช้จ่าย” เพียงแค่นี้ก็รวยแล้ว ง่ายนิดเดียว
แต่ ส่วนใหญ่ ทำไม่ได้!  เนื่องจาก 2  สาเหตุ คือ “หาเงินตามที่ต้องการไม่ได้”   กับ “ลดค่าใช้จ่ายไม่ได้”
ซึ่งทั้งสองสาเหตุนี้มาจากต้นเหตุเดียวกันทั้งสิ้น ก็ คือ “อารมณ์ความต้องการที่ไม่สิ้นสุด” หรือ “กิเลส” นั่นเอง   

      เพราะความต้องการที่ไม่สิ้นสุดนี้เองที่ทำให้เรามองข้าม ตัวเราเองไป 
      “เรามีอยู่แล้ว แต่คิดว่าไม่มี”

      ผมขอถามหน่อย คนที่จัดอยู่ในประเภท “รวยพอประมาณ” เขารวยไหม ถ้ามองจากคนภายนอก แน่นอนเขารวยแน่ๆ แต่สิ่งที่เขาคิดนั้น คือ เขาคิดว่าเขา “ยังรวยไม่พอ” ดังนั้นความสุขที่เขาจะได้รับจากการใช้ทรัยพ์สินที่มีอยู่ ก็ไม่เกิดขึ้น เขาคิดเพียงว่า เขาต้องการเพิ่มอีก ๆๆๆ  

      ส่วนประเภท “รวยพอดีใช้”  กลุ่มนี้ดูยังไงก็ไม่จน แต่เขากลับลดค่าใช้จ่ายไม่ได้ บางคนใช้จ่ายเหมือนประเภทที่สูงกว่าตนเอง ทำให้เกิดหนี้สินเพิ่มขึ้น ก็เป็นทุกข์อีก 

      ส่วนประเภท “รวยไม่พอใช้” อันนี้ต้องยอมรับแหละว่า หนักสุด เพราะถึงแม้จะพยายามลดค่าใช้จ่ายเพียงใด ก็ยังหารายได้ไม่พออยู่ดี อาจจะต้องเหนื่อยมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ที่ต้องหารายได้ให้มากขึ้น แต่ถ้าใจสงบ ความพารเพียรก็จะเป็นเครื่องผลักดันให้เราเกิดแรงอึดสู้ได้ แต่ก็ดีกว่าอีกหลายคนที่ปกติอยู่ในกลุ่ม “รวยพอดีใช้” แต่กลับทำตัวเองให้ตกลงมาในกลุ่ม “ รวยไม่พอใช้” และใช้เงินทุกบาทที่หาได้ไปกับการใช้หนี้ มากกว่าใช้จ่ายส่วนตัว   
     
       “ความสุขอยู่ที่ใจ” วลีที่กล่าวมาข้างต้น ก็ยังใช้ได้อยู่ แต่ คำว่า “ใจ” มันไม่ได้หมายถึงคำนาม ที่แปลว่าหัวใจ แต่มัน คือ คำกริยา ที่แปลว่า “การบังคับใจ”
ถ้าเราบังคับใจ ไม่ให้เกิดอารมณ์ความอยากเกินความต้องการ “ ความสุข” มันก็เกินได้ทุกที่ ทุกเวลา  ความรวยนั้นมีอยู่กับทุกคนอยู่แล้ว 
      
      เพียงแต่คุณจะตีความว่าความรวย ของคุณเองว่ามันคืออะไรเท่านั้น !




line